“กล้วยเล็บมือนาง” ความหอมหวานจากภาคใต้

“กล้วยเล็บมือนาง” ความหอมหวานจากภาคใต้

ชื่ออื่น  กล้วยข้าว  กล้วยหมาก

ชื่อวิทยาศาสตร์  Musa (AA group)

“Kluai Leb Mu Nang”

ชื่อวงศ์  MUSACEAE



กล้วยเล็บมือนาง”  นิยมปลูกและรับประทานกันเฉพาะถิ่นทางภาคใต้ นิยมปลูกมากในพื้นที่ จ.ชุมพร แต่ในปัจจุบัน

กล้วยเล็บมือนาง” ได้กระจายพันธุ์ปลูกไปทั่วทุกภาคของประเทศไทยและนิยมรับประทานอย่างแพร่หลายเนื่องจากมีรสชาติที่หวานหอมอร่อยตามธรรมชาติ

ลำต้นของกล้วยเล็บมือนางสูงไม่เกิน   2.5   เมตร   เส้นผ่านศูนย์กลางน้อยกว่า  15  เซนติเมตร  กาบลำต้นด้านนอกสีชมพูอมแดง  ด้านในสีชมพูอมแดง ก้านใบสีชมพูอมแดง  ตั้งขึ้น  มีร่องกว้าง  มีครีบ  เส้นใบสีชมพูอมแดง  ใบสีเขียวอ่อน  ค่อนข้างแคบ และสั้น  สันของก้านใบส่วนล่างเป็นแถบสีแดง ก้านช่อดอกมีขน  ปลีรูปไข่ค่อนข้างยาว  ม้วนงอขึ้น  ปลายแหลม  ด้านนอกสีแดงอมม่วง  ด้านในสีแดงซีด

ผลมีขนาดประมาณนิ้วมือ ปลายผลเรียว  ผลเรียงติดกันคล้ายนิ้วมือ เนื้อผลสุกแล้วหอมหวานคล้ายกล้วยหอมจันทร์ หวีหนึ่งมี  10  –  16  ผล เมื่อสุกเปลี่ยนเป็นสีเหลือง กลิ่นหอมแรง  เนื้อสีเหลือง  รสหวาน  นางเนื้อแน่นชวนรับประทาน

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์